หลักเกณฑ์และทรัพย์สินทางปัญญา

การใช้บริการ
บริษัท วีวาสนาดี จำกัดจัดทำขึ้นแพลตฟอร์มออนไลน์ pichoro เพื่อเป็นช่องทางการแลกเปลี่ยน และการถือครองผลงานศิลปะประยุกต์ดิจิทัลที่ให้บริการ ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ข้อมูลกิจกรรม แลกเปลี่ยนถือครองผลงานศิลปะประยุกต์ที่เป็นรูปแบบดิจิทัล ระบบการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินผลงานศิลปะประยุกต์ ระบบค้นหาทรัพย์สิน และการทำธุรกรรมการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนรวมรวบข้อมูล และผลงานศิลปะประยุกต์ทั้งหมดในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (ต่อไปนี้จะรวมเรียกว่า “บริการ”)

 

แพลตฟอร์มออนไลน์ pichoro ให้อนุญาตข้อมูลความรู้ทั่วไป ในการใช้ข้อมูลในการดาวน์โหลด หรือการทำสำเนาโดยจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการให้บริการแบบทั่วไปของแพลตฟอร์มออนไลน์ pichoro

 

ขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการเผยแพร่ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือปรับปรุงข้อมูลเมื่อใดก็ได้ โดยไม่จำต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

 

ทั้งนี้การให้บริการภายในแพลตฟอร์มที่นอกเหนือจากการให้ข้อมูลความรู้โดยทั่วไป แพลตฟอร์มออนไลน์ pichoro ขอแจ้งให้ท่านทราบว่าท่านต้องดำเนินการ สมัครสมาชิก กับแพลตฟอร์มออนไลน์ pichoro หรือการให้ข้อมูลส่วนบุคคลบางประการเพื่อเข้าใช้งานบริการเหล่านั้น โดยการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านแพลตฟอร์มออนไลน์ pichoro จะดำเนินการให้เป็นไปตาม นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ ๒๕๖๒

 

ลิขสิทธิ์และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
หมายเลขโทรศัพท์ และ/หรือบุคคลที่มีส่วนได้เสีย (แล้วแต่กรณี) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา ของเนื้อหาภายในแพลตฟอร์ม อันประกอบด้วย ข้อมูล บทความ รูปภาพ ภาพกราฟฟิก ข้อความ วีดิทัศน์ เสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอื่นๆ ที่อยู่บนแพลตฟอร์มนี้ โดยบริษัท วีวาสนาดี จำกัดมีสิทธิหรืออำนาจควบคุมการใช้งานเนื้อหาในแพลตฟอร์มและห้ามมิให้ ทำซ้ำ คัดลอก ถ่ายสำเนา ดัดแปลง เผยแพร่ หรือกระทำการอื่นใด เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือเพื่อหาประโยชน์เชิงพานิชย์ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยไม่ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากแพลตฟอร์มออนไลน์ pichoro และบริษัท วีวาสนาดี จำกัดแล้วแต่กรณี เว้นแต่การใช้จัดพิมพ์ หรือดาวน์โหลดเนื้อหาที่แสดงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ pichoro ที่ท่านได้รับสิทธืถือครองตามข้อตกลงหรือกำหนดไว้ในการแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน โดยผู้ใช้ต้องไม่ลบข้อความเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาออกจากเนื้อหานั้น

 

หลักเกณฑ์และข้อควรปฏิบัติ
ผู้ใช้บริการตกลงที่จะไม่ใช้บริการในลักษณะดังนี้

อัปโหลดหรือส่งข้อความหรือเนื้อหาใดๆ ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ได้แก่ ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ดูหมิ่นต่อ เชื้อชาติ ศาสนา หรือข้อความที่เป็นอนาจาร หมิ่นประมาท และละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
 
ดาวน์โหลด อัปโหลด ติดประกาศ หรือกระทำการใดๆ เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเนื้อหา หรือข้อความงานใดๆ จากเว็บไซต์นี้โดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากเรา และ/หรือตั้งกระทู้หรือทำให้ปรากฏซึ่งข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเรา สมาชิกผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และ/หรือบุคคลภายนอก
 
อัปโหลด ติดประกาศ ส่งอีเมล หรือดำเนินการอื่นใดอันมีผลทำให้เป็นการรบกวน หรือแทรกแซงการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์โดยการส่งไวรัส (Virus) หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ที่ออกแบบมา เพื่อขัดขวาง ทำลาย จำกัดการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หรือโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อสารของสมาชิกของเรา หรือ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต หรือบุคคลภายนอก
 
ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ขัดขวาง แทรกแซงการทำงาน หรือให้บริการของเรา หรือเครื่องคอมพิวเตอร์และ/หรือระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลภายนอก อาทิเช่น ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทม้าโทรจัน (Trojan Horse) ไวรัสในรูปแบบ ของไทม์บอมส์ (Time Bombs) ฯลฯ

กฎหมายที่ใช้บังคับ
การใช้บริการเว็บไซต์นี้ หรือการตีความข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเว็บไซต์นี้ให้เป็นไปตามกฎหมายไทย

 

สถานที่ติดต่อ
บริษัท วีวาสนาดี จำกัด (สำนักงานใหญ่)
235 อาคารพิบูลวัฒนา ถนนพระรามที่ 6
แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0105556011141
อีเมล : service@wewasanad.com
หมายเลขโทรศัพท์ : 02 615 8998
* วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 14 กรกฎาคม 2565

 

หลักการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair Use) ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 วางหลักว่า

การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

     (๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

     (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

     (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

     (๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

     (๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

     (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอน ของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

     (๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

     (๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

     (๙) (ยกเลิก)

 

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาน อันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
     (๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
     (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
     (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
     (๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
     (๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
     (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
     (๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
     (๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

 

มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง

 

มาตรา ๓๔ การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
     (๑) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
     (๒) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการ วิจัยหรือการศึกษา

 

มาตรา ๓๕ การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อหากำไรและได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
     (๑) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
     (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
     (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
     (๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
     (๕) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควร โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจาก บุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
     (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
     (๗) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
     (๘) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
     (๙) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิงหรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ ของสาธารณชน

มาตรา ๓๖ การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม ออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการ เพื่อหากำไรเนื่องจากการ จัดให้มีการเผยแพร่ต่อ สาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม และนักแสดงไม่ได้ รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๓๗ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น

มาตรา ๓๘ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น

มาตรา ๓๙ การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น

มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยการที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำ ศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็น สาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น

มาตรา ๔๑ อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

มาตรา ๔๒ ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้นเผยแพร่ต่อ สาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานที่ใช้จัดทำ ภาพยนตร์นั้น

มาตรา ๔๓ การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตาม มาตรา๓๒ วรรคหนึ่ง